วิธีเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ – Part 1
วิธีเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจคุณ ใน ส่วนที่หนึ่งนั้น เราจะมาแนะนำข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของเซิฟเวอร์ และประโยชน์ของ เซิฟเวอร์และ การใช้งานระบบคลาวด์ เพื่อเป็นการให้ความรู้ทั่วไปของเซิฟเวอร์ ก่อนที่เราจะมาลงลึก ในส่วนของ เซิร์ฟเวอร์ต่างๆกันในส่วนที่สอง ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นมากพอที่คุณอยากได้เซิร์ฟเวอร์ตัวแรก ขอแสดงความยินดีด้วย! การมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ ทำให้ความรู้สึกกังวลใจบางอย่างนั้นเป็นที่เข้าใจได้ คำแนะนำนี้จะอธิบายถึงหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าเซิร์ฟเวอร์ระดับใดเหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุดและช่วยให้ทราบราคาคร่าว ๆ ก่อน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไปหรือซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของคุณ ยิ่งไปกว่านั้น เรายังจะสำรวจทางเลือกหลักในการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ของคุณ ที่อาศัยหลักการทำงานแบบคลาวด์ และการจัดเตรียมแบบไพรเมอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเซิร์ฟเวอร์ที่ร้อนแรงที่สุดในปัจจุบัน (แนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีเสมือนจริง) จะพบว่าคำแนะนำเหล่านี้มีประโยชน์แม้ว่าคุณจะตัดสินใจว่าจ้างที่ปรึกษาด้านไอทีให้คำแนะนำในการซื้อหรือเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของคุณก็ตามที ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ แม้ว่าเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กอาจถูกมองว่าไม่มีความแตกต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะระดับไฮเอนด์ เครื่องเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาสำหรับงานที่หลากหลายกว่า คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะนั้นได้รับการออกแบบมาสำหรับคนที่ต้องการระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่ายเพื่อเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นเดสก์ทอป เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ สเปรดชีต โปรแกรมสำหรับอีเมล์ และเว็บเบราว์เซอร์สำหรับค้นดูเว็บ ส่วนเซิร์ฟเวอร์นั้นมีระบบปฏิบัติการเฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ใช้งานหลายคน เช่น อีเมล์ ข้อความ และพริ้นเซิร์ฟเวอร์ ระบบแชร์ปฏิทินในองค์กร ฐานข้อมูล และซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กร และซอฟต์แวร์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เซิร์ฟเวอร์ช่วยให้พนักงานของคุณสามารถแบ่งปันข้อมูลและทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์เป็นที่เก็บข้อมูล เอกสาร รูปภาพ รายการข้อมูลติดต่อ และไฟล์สำคัญอื่น ๆ ทั้งหมดของคุณ เซิร์ฟเวอร์สามารถเป็นแม่ข่ายอินทราเน็ตของบริษัท […]
วิธีเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ – Part 1 Read More »