7 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ Cloud

1. Cloud แฝงอยู่ในชีวิตประจำวัน

การบริการบนโลกออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ Service ที่เรารู้ว่ามีแต่ไม่รู้ว่ามันเก็บอยู่ที่ไหน ยกตัวอย่างเช่น การใช้บริการ Hotmail, Gmail, Dropbox, Google Drive หรือแอปพลิเคชันที่มีการบันทึกและประมวลผล เช่น แอปพลิเคชันแชท/สนทนา โซเชียลมีเดีย Facebook, LinkedIn, MySpace, Twitter แอปพลิเคชันฟังเพลงออนไลน์ เช่น Spotify, Joox หรือจะเป็นแอปพลิเคชันสรุปรายรับรายจ่าย บันทึกการวิ่ง เล่นเกมส์ออนไลน์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าระบบ Cloud เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ Cloud โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัวเลย ความจริงแล้วหลายคนยังนึกภาพไม่ออกด้วยซํ้าว่าถ้าหากขาดระบบ Cloud ไปชีวิตจะเป็นอย่างไร หากไม่มีระบบ Cloud ก็จะไม่มี Facebook ไม่มี Twitter ไม่มี Gmail ไม่มี Spotify แล้วความเพลิดเพลินต่างๆเหล่านี้จะแทนที่ได้ด้วยอะไรและชีวิตของเราก็อาจยุ่งยากขึ้น จริงมั้ย?

ไม่ใช่แค่วิถีชีวิตของผู้คนเท่านั้นแต่ระบบ Cloud ได้เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินธุรกิจด้วยเช่นกัน ปัจจุบันหลายล้านองค์กรทั่วโลกต้องพึ่งพาบริการ Cloud เกือบทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่การสร้างเอกสารและการสำรองข้อมูลไปจนถึง โซเชียลมีเดีย การทำ CRM การทำบัญชีรายชื่อลูกค้า ตลอดจนถึงแอปพลิเคชันเกือบทุกแอปที่ใช้ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า เช่น Airbnb, Netflix, Apple, Amazon และ Google เหล่านี้ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการประมวลผลของระบบ Cloud เพื่อให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป (แม้ว่าจะใช้ AI แต่ก็ใช้ผ่าน Cloud อยู่ดี)

 

2. สรุปว่าระบบ Cloud ครอบคลุมอะไรบ้าง?

  • การจัดเก็บข้อมูล เช่น การส่งข้อมูลไปเก็บไว้บน Cloud ของ Dropbox การฝากข้อมูล/ภาพ/ไฟล์งานบน Google Doc หรือการเก็บภาพเป็นอัลบั้มบน Facebook
  • การประมวลผล เช่น การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการจากอุปกรณ์ใดๆก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ สามารถอัปเดตบันทึกผู้ติดต่อได้แบบเรียลไทม์
  • ระบบให้บริการผ่านทางออนไลน์ต่างๆ เอาเป็นว่าคุณได้ใช้งานแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน

 

3. ทำไม Cloud ถึงได้รับความนิยม?

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น มีการใช้ในชีวิตประจำวันทุกวัน และแทบทุกคนมีเครื่องมือในการใช้ สำหรับผู้ใช้งานอย่างเราๆระบบ Cloud ช่วยเราเข้าใช้งานได้ง่าย แค่มีอินเทอร์เน็ตก็ใช้งานได้แล้ว แต่มีประโยชน์มากๆสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง เพราะเพียงแค่เชื่อมต่อ อีกทั้งไม่ต้องลงทุนในซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ก็ทำให้ธุรกิจดำเนินการไปได้อย่างสะดวกมากขึ้น แล้วสำหรับธุรกิจใหญ่ๆล่ะ?

หากจะขยายความถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงต่อธุรกิจแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน ได้แก่

1. ประโยชน์ครอบคลุมในด้านการเงินและการลงทุน

  • ลดค่าใช้จ่าย โดยค่าใช้จ่ายจะต่ำลงเมื่อใช้บริการ Cloud เมื่อเปรียบเทียบกับการต้องสร้างและบำรุงรักษาระบบด้วยตนเอง
  • ลดต้นทุนโดยรวมในการเป็นเจ้าของ โดยลงทุนจริงเท่าที่ใช้งาน และยังได้ความรวดเร็วในความพร้อมใช้งานอีกด้วย
  • ลดงบลงทุนค่าใช้จ่ายของแผนก IT โดยเปลี่ยนการลงทุนเป็นการจ่ายค่าดำเนินการแทน
  • ปรับปรุงค่าใช้จ่ายได้ตามการบริหารจัดการกระแสเงินสดของธุรกิจ โดยจ่ายเฉพาะบริการที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ได้

2. ประโยชน์ด้านการตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ

  • ทรัพยากรสำหรับประมวลผลและระบบมีพร้อมใช้งานได้ทันทีตามความต้องการทางธุรกิจ
  • เข้าดึง Cloud ได้หลากหลายช่องทาง จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลและแอพพลิเคชันจะพร้อมใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลา
  • รองรับการขยายตัวและคล่องตัวมากขึ้น ช่วยให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรด้าน IT ที่เหมาะสมพร้อมขยายตัว อยู่เสมอ จึงตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าองค์กรได้เป็นอย่างดี เมื่อต้องการขยายสาขา เพิ่มผลิตภัณฑ์ หรือการให้บริการใหม่ๆเพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาด

 

4. ความปลอดภัยของ Cloud

ในตอนแรกเริ่มของการใช้ระบบ Cloud หลายฝ่ายเกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลและยังไม่ค่อยแพร่หลายหรือมีการยอมรับการนำบริการนี้มาใช้งาน ต่อมาเมื่อระบบ Cloud ได้พัฒนาและแก้ไขจุดอ่อนที่น่ากังวลไปได้หลายอย่าง ระบบนี้จึงแข็งแกร่งขึ้น อีกทั้งนักธุรกิจหรือผู้ใช้บริการต่างก็มีความเข้าใจวิธีการทำงานของระบบ Cloud เพิ่มมากขึ้น มีตัวอย่างหลายกรณีที่แสดงให้เห็นว่าระบบ Cloud ช่วยเสริมสร้างเกราะป้องกันทางด้านความปลอดภัยให้กับธุรกิจองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการวางนโยบายความปลอดภัย การวางระบบป้องกัน การตระเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดการรั่วไหล และการจำกัดความผิดพลาดให้เหลือโอกาสน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อาจกล่าวได้ว่าระบบ Cloud ถือเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานและมีความเสถียรมากพอสมควร

แม้ว่าระบบ Cloud ของผู้ให้บริการจะมีความเสถียรสูง กระนั้นก็ไม่ควรไว้ใจระบบมากเกินไปโดยเฉพาะถ้าคุณไม่ได้ใช้ข้อมูลจากระบบนั้นเพียงคนเดียว หากเป็นการใช้ร่วมกันในองค์กรควรมีกติกาการใช้งาน มีการจำกัดขอบเขตและสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อความปลอดภัย

 

5. เรื่องที่ผู้ใช้บริการ Cloud มักเข้าใจผิด

จริงอยู่ที่ Cloud มีความปลอดภัย หนึ่งสิ่งที่ผู้ใช้บริการ Cloud มักเข้าใจผิด คือ ผู้ให้บริการ Cloud จะเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีการเกิดข้อมูลรั่วไหลแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ความจริงแล้วผู้ใช้บริการเองต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลที่ใส่ลงไปบน Cloud ด้วย เพราะแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากผู้ใช้ได้ ส่วนผู้ให้บริการรับผิดชอบในส่วนของระบบและโครงสร้างเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถรักษาความปลอดภัยภายในขอบเขตที่รับผิดชอบได้อย่างทั่วถึง และเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจและตระหนักถึงสภาพแวดล้อมความปลอดภัยในการรับ/ส่ง/จัดเก็บข้อมูลและการใช้งานระบบ Cloud ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง ทั้งนี้การศึกษารูปแบบความรับผิดชอบร่วมกันและการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยของระบบ Cloud เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะจำกัดปัญหาด้านความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการรั่วไหลของข้อมูลได้เป็นอย่างดี

 

6. รู้จักรูปแบบการให้บริการระบบ Cloud สำหรับธุรกิจ

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการให้บริการระบบ Cloud ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ควรทราบ ปัจจุบันระบบ Cloud มีหลากหลายระดับหลากหลายรูปแบบแล้วแต่การนำโมเดลนี้ไปใช้งาน โดยมีประโยชน์ที่เหมาะสมแตกต่างกัน ในส่วนที่องค์กรและหน่วยงานทางธุรกิจมักเลือกใช้ในที่นี้เราสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่:

  1. Infrastructure-as-a-Service (IaaS) – เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและระบบจัดเก็บข้อมูล เน้นการสร้างศักยภาพและขุมพลังความเร็วในการประมวลผลข้อมูล IaaS จึงเป็นอีกทางเลือกที่หน่วยงานและองค์กรสามารถเลือกใช้บริการจาก Cloud Service Provider ในขณะเดียวกันองค์กรและหน่วยงานธุรกิจสามารถสร้าง IaaS ขึ้นมาเพื่อจัดการระบบ IT ภายในเพื่อให้บริการแก่หน่วยงานย่อยหรือบริษัทในเครือก็ได้ รวมถึงการพิจารณาเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของระบบ IT เป็น IaaS ก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุน เพราะ IaaS มีความยืดหยุ่นสูงกว่าระบบเครือข่ายแบบ Physical เดิม สามารถช่วยให้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบ IT ที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
  2. Platform-as-a-Service (PaaS) – เป็นการให้บริการด้าน Platform สำหรับการพัฒนา Software และ Application โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนา Software และ Application เช่น Web Application, Database Server ระบบประมวลผลกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และ Middleware อื่นๆ เป็นต้น โดยบริการทั้งหมดทำงานภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่าย และสามารถเรียกใช้งานได้ผ่าน Web Application
  3. Software-as-a-Service (SaaS) – การให้บริการด้าน Software และ Application ผ่านทางอินเตอร์เน็ต คล้ายกับการเช่าใช้ คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน (Pay as you go) เช่น ตามจำนวนผู้ใช้งาน ระยะเวลาการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมในส่วน Hardware และ Software License รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบ เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมดให้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งาน Software และ Application ผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากที่ไหนก็ได้ โดยไม่สนใจว่า Software และ Application เหล่านี้ติดตั้งอยู่ที่ไหน ประมวลผลอยู่บน Server อะไร
  4. Data-as-a-Service (DaaS) – การให้บริการแพคเกจ Software และ Application สำหรับการดำเนินธุรกิจโดยรวมเอาบริการพื้นฐาน IaaS, PaaS และ SaaS เข้าไว้ด้วยกัน แพคเกจที่ให้บริการถูกออกแบบตามขั้นตอนการทำธุรกิจ (Business Process) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเลือกใช้เฉพาะ Software และ Application ที่เหมาะสมกับกระบวนการทางธุรกิจแต่ละประเภท แพ็คเกจของ Software และ Application ที่นำมาให้บริการเป็นการเลือกใช้ Software และ Application เฉพาะทางหลาย Application มารวมกัน ซึ่งการให้บริการแบบ BPaaS จะต้องสามารถวัดผลประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการใช้แอพลิเคชั่นที่ใช้งานได้

 

7. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจใช้ระบบ Cloud

สำหรับองค์กรธุรกิจนอกจากความเข้าใจแล้ว คุณควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้ให้บริการหรือบุคลากรที่เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเลือกผู้ให้บริการ Cloud ที่เหมาะสม มี Certification และ Compliance และเพื่อวางแผนด้านความปลอดภัยของข้อมูลทางธุรกิจได้อย่างถูกต้อง

สรุปว่าสำหรับผู้ใช้อย่างเราๆ ประโยชน์ของ Cloud คือสิ่งที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวัน จนไม่อาจแยกออกจากเราไปได้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเดินทาง ทั้งการค้นหาเส้นทาง อากาศ สภาพการจราจร หรือการเก็บ/ฝากข้อมูล การทำงาน การซื้อของออนไลน์ การพักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางและแม้กระทั่งการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆผ่านทางออนไลน์ เหล่านี้เราใช้จนมันกลมกลืนกับกิจกรรมประจำวันของเราไปแล้ว

ส่วนคุณค่าของการใช้บริการระบบ Cloud สำหรับธุรกิจ ระบบคลาวด์ไม่ได้ให้ประโยชน์อยู่ที่การลดค่าใช้จ่ายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ประโยชน์ที่จะได้จากการใช้บริการระบบ Cloud มากที่สุดคือเรื่องของความคล่องตัว นวัตกรรม และการลดเวลาในการเข้าสู่ตลาด ดังนั้นการใช้บริการระบบ Cloud จึงทำให้องค์กรสามารถพัฒนาระบบ IT ในองค์กรให้สามารถแข่งขันและขยายตัวได้อย่างเร็วโดยการเลือกบริการที่เหมาะสม

————————————————————
ให้ Microsystems เป็นที่ปรึกษาของคุณสิ เพราะโจทย์ความต้องการของแต่ละธุรกิจมีความแตกต่างกัน แต่ด้วยความเข้าใจรูปแบบการใช้งานและความเฉพาะเจาะจงของลูกค้า ประกอบกับความทุ่มเทเวลาที่เราใช้อบรมเจ้าหน้าที่และมีการลงทุนทางด้านความปลอดภัยมาตลอด ฉะนั้นเราจึงมีผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยคุณได้ตั้งแต่ต้นจนจบ

  • ช่วยวางแผนเลือกผู้ให้บริการที่มี Certification และ Compliance ให้คุณได้
  • ช่วยเลือกรูปแบบการให้บริการระบบ Cloud ช่วยตั้งค่า Cloud Platform ได้อย่างเหมาะสม
  • ช่วยมอบความเข้าใจและวางรูปแบบความรับผิดชอบร่วมกัน
  • ช่วยเหลือเคียงข้างไปจนถึงวันที่คุณเจอปัญหา Microsystems จะกลายเป็นผู้ช่วยจัดการแก้ปัญหาให้คุณอย่างมืออาชีพ
  • ช่วยจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

Microsystems สามารถทำให้องค์กรของคุณมั่นใจได้เลยว่าจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อให้การใช้งานระบบ Cloud อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสนับสนุนการทำงานของธุรกิจได้ทุกรูปแบบอย่างแท้จริง

 

Credit: aware

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.