วิธีเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ – Part 1

วิธีเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจคุณ

ใน ส่วนที่หนึ่งนั้น เราจะมาแนะนำข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของเซิฟเวอร์ และประโยชน์ของ เซิฟเวอร์และ การใช้งานระบบคลาวด์ เพื่อเป็นการให้ความรู้ทั่วไปของเซิฟเวอร์ ก่อนที่เราจะมาลงลึก ในส่วนของ เซิร์ฟเวอร์ต่างๆกันในส่วนที่สอง
ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นมากพอที่คุณอยากได้เซิร์ฟเวอร์ตัวแรก ขอแสดงความยินดีด้วย! การมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ ทำให้ความรู้สึกกังวลใจบางอย่างนั้นเป็นที่เข้าใจได้ คำแนะนำนี้จะอธิบายถึงหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าเซิร์ฟเวอร์ระดับใดเหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุดและช่วยให้ทราบราคาคร่าว ๆ ก่อน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไปหรือซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของคุณ

ยิ่งไปกว่านั้น เรายังจะสำรวจทางเลือกหลักในการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ของคุณ ที่อาศัยหลักการทำงานแบบคลาวด์ และการจัดเตรียมแบบไพรเมอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเซิร์ฟเวอร์ที่ร้อนแรงที่สุดในปัจจุบัน (แนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีเสมือนจริง) จะพบว่าคำแนะนำเหล่านี้มีประโยชน์แม้ว่าคุณจะตัดสินใจว่าจ้างที่ปรึกษาด้านไอทีให้คำแนะนำในการซื้อหรือเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของคุณก็ตามที

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์

แม้ว่าเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กอาจถูกมองว่าไม่มีความแตกต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะระดับไฮเอนด์ เครื่องเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาสำหรับงานที่หลากหลายกว่า

คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะนั้นได้รับการออกแบบมาสำหรับคนที่ต้องการระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่ายเพื่อเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นเดสก์ทอป เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ สเปรดชีต โปรแกรมสำหรับอีเมล์ และเว็บเบราว์เซอร์สำหรับค้นดูเว็บ

ส่วนเซิร์ฟเวอร์นั้นมีระบบปฏิบัติการเฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ใช้งานหลายคน เช่น อีเมล์ ข้อความ และพริ้นเซิร์ฟเวอร์ ระบบแชร์ปฏิทินในองค์กร ฐานข้อมูล และซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กร และซอฟต์แวร์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

เซิร์ฟเวอร์ช่วยให้พนักงานของคุณสามารถแบ่งปันข้อมูลและทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์เป็นที่เก็บข้อมูล เอกสาร รูปภาพ รายการข้อมูลติดต่อ และไฟล์สำคัญอื่น ๆ ทั้งหมดของคุณ เซิร์ฟเวอร์สามารถเป็นแม่ข่ายอินทราเน็ตของบริษัท เพื่อแบ่งปันข้อมูลกับพนักงานได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย การติดตั้งการใช้งานระบบเครือข่ายเสมือนส่วนตัว (Virtual Private Network) ทำให้คุณและพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกลได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต

นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์สามารถสำรองข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและทั้งแบบพกพาได้ ดังนั้นคุณจะไม่สูญเสียข้อมูลที่สำคัญหากเครื่องหยุดทำงานหรือสูญหายหรือถูกขโมยเลย เซิร์ฟเวอร์ได้รับการออกแบบมาให้เชื่อถือ ปลอดภัย คงทนต่อความเสียหายได้ มีทางเลือกในการจัดเก็บข้อมูลที่เหลือเฟือ หากคุณคาดหวังว่าธุรกิจของคุณจะขยายตัวขึ้น ควรเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่ยืดหยุ่นและสามารถเติบโตไปพร้อม ๆ กับธุรกิจของคุณได้

หากคุณดำเนินการธุรกิจขนาดเล็กจนถึงธุรกิจขนาดกลาง คำถามจะไม่ใช่ “ฉันจำเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์หรือไม่? แต่จะเป็น “เซิร์ฟเวอร์ประเภทใดที่ฉันจำเป็นต้องใช้งาน?” ก่อนที่เราจะเข้าสู่ขั้นตอนนั้น เราขอแนะนำให้ใช้ทางเลือกหนึ่งในการดำเนินงานและดูแลรักษาเซิร์ฟเวอร์ไซต์ที่อาศัยการทำงานบนระบบคลาวด์

การเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์

ทำไมถึงไม่จัดเก็บทุกสิ่งอย่างไว้ในคลาวด์หละ? อย่างเช่นการให้บริการ Amazon Web Services, Microsoft’s Windows Azure และ Rackspace Cloud Hosting ที่มีประโยชน์มากมาย สำหรับผู้เริ่มต้นนั้น เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากในการลงทุนค่าใช้จ่ายที่สำคัญ และคุณไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ด้านไอทีเพื่อจัดการเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด

ทำนองเดียวกันคุณไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัยอีกต่อไป ในยุคที่ธุรกิจต้องอาศัยเครื่องเมนเฟรมขนาดใหญ่ กลยุทธ์นี้เรียกว่า “การแบ่งปันเวลา” คลาวด์จะรับภาระในข้อจำกัดหลายประการ เช่น
ความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการรายที่คุณเลือก

อย่างไรก็ตาม ระบบคลาวด์ก็ยังมีข้อเสียอยู่ หากบริษัทดังกล่าวเกิดหยุดทำการหรือประสบภัยพิบัติทำให้ธุรกิจของคุณหยุดชะงักลงได้ สิ่งที่แย่กว่านั้นคือ คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ชั่วคราวหรือสูญเสียอย่างถาวร หากคุณสูญเสียการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคุณจะถูกตัดขาดจากแอพพลิเคชั่นและข้อมูล และพนักงานของคุณไม่สามารถแบ่งปันไฟล์ได้ คุณอาจสูญเสียความสามารถในการจัดการธุรกิจของคุณจนกว่าจะมีการเรียกคืนการเชื่อต่ออินเทอร์เน็ตอีกครั้ง และหากธุรกิจของคุณใช้ไฟล์ขนาดใหญ่และการเชื่อมต่อระบบบรอดแบนด์ช้าเกินไป ประสิทธิภาพการทำงานของคุณจะได้รับผลกระทบได้

การจัดเก็บข้อมูลของคุณไว้ในคลาวด์ จะทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและข้อมูลส่วนบุคคล และแม้ว่าคุณจะไม่ได้จ่ายเงินสำหรับพนักงานไอทีในการดูแลรักษาและการลงทุนในอุปกรณ์ใหม่ ๆ โดยตรง แต่คุณยังคงมีส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้โดยทางอ้อม เพราะฉะนั้นคลาวด์นั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาทุกอย่าง

เลือกเซิร์ฟเวอร์ให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

แบรนด์ใหญ่ ๆ ชื่อดังในตลาดเซิร์ฟเวอร์ คือ Dell Fujitsu HP IBM Lenovo และ Oracle การเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับการฟังค์ชั่นการใช้งานต่างๆ

หากคุณต้องการใช้งานเพียงแค่การแชร์ไฟล์ข้อมูล การสำรองข้อมูลโดยอัตโนมัติ และการเข้าถึงระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ (โดยเฉลี่ยแล้วคนส่วนใหญ่จะใช้ไม่เกินสิบครั้งต่อวัน) คุณควรพิจารณาอุปกรณ์ระบบ NAS หรือแม้กระทั่ง Windows Home Server ของ HP, Netgear QNAP Seagate และ Synology ที่เป็นผู้เล่นรายหลักในตลาดนี้

หากคุณจำเป็นต้องใช้งานเซิร์ฟเวอร์สำหรับอีเมล์ หรือและพริ้นเซิร์ฟเวอร์ การจัดการฐานข้อมูลที่ซับซ้อน หรือเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ที่ซับซ้อนขึ้น (เช่น ระบบ ERP หรือ CRM) หรือคุณมีความต้องการในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มากหรือหากคุณต้องการความสามารถในการทำจำลองเสมือนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น คุณจำเป็นต้องเลือกตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ เซิร์ฟเวอร์แบบ Tower แบบ Rack หรือไม่ก็แบบ Blade

เวอชวลเมชชีนแบบไพรเมอร์

ก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียดของคำอธิบายของเซิร์ฟเวอร์แต่ละประเภท ขอให้รายละเอียดโดยย่อเรื่องไพรเมอร์สำหรับการจำลองเสมือนแก่ทุกคนที่ไม่คุ้นเคยกับแนวคิดนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจนไปถึงธุรกิจขนาดกลางอยู่เบื้องหลังการใช้เทคโนโลยีการจำลองเสมือนจริงจนถึงในปัจจุบัน แต่เทคโนโลยีสามารถให้ประโยชน์อย่างมากแก่บริษัทเกือบทุกขนาดเนื่องจากช่วยให้องค์กรนั้นสามารถใช้ทรัพยากรไอทีอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การทำจำลองเสมือนจริง ช่วยให้เซิร์ฟเวอร์หนึ่งสามารถทำงานได้เหมือนกับเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ เครื่องในเครื่องเดียว แต่ละระบบมีระบบปฏิบัติการและชุดแอพพลิเคชั่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เครืองเสมือนจริงนั้นประกอบด้วยซอฟต์แวร์ แต่ก็มีส่วนประกอบด้วยทั้งหมดของอุปกรณ์กายภาพ มีทั้งเมนบอร์ด CPU ฮาร์ดดิสก์ ตัวควบคุมเครือข่าย และอุปกรณ์อื่น ๆ ระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นอื่นที่ทำงานบนเครื่องเสมือนจริงทำงานเช่นเดียวกันกับที่ใช้กับเครื่องกายภาพ เหล่านั้นจะไม่เห็นความแตกต่างระหว่างกันทั้งสองสภาพแวดล้อม

ในการจำลองเสมือนจริง โปรแกรมที่เรียกว่า hypervisor วางเลเยอร์อยู่ระหว่างระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ โดยที่ hypervisor สามารถทำงานได้บนหลายเครื่องเสมือนจริงกับระบบปฏิบัติการเดียวกันหรือหลายระบบปฏิบัติการบนเซิร์ฟเวอร์กายภาพเดียวกัน ทั้งบริษัท Microsoft, Oracle, และ VMware เป็นหนึ่งในนักพัฒนาระบบจำลองเสมือนจริงบริษัทชั้นนำ

การจำลองเสมือนจริงทำให้การใช้ทรัพยากรไอทีของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร? เซิร์ฟเวอร์ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการโหลดสูงสุดเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วไป ดังนั้นเหล่านั้นจึงใช้เวลาไม่มากนัก โดยทั่วไปแล้วเซิร์ฟเวอร์ใช้งานเพียง 5 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของทรัพยากรโดยรวมเท่านั้น การใช้งานเครื่องเสมือนจริงหลายเครื่องบนเซิร์ฟเวอร์กายภาพเครื่องเดียวจะใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะช่วยเพิ่มการใช้งานระหว่าง 60 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะใช้เซิร์ฟเวอร์ทางกายภาพแต่ละเครื่องสำหรับอีเมล์ อีกเครื่องหนึ่งสำหรับการจัดการฐานข้อมูล อีกเครื่องหนึ่งสำหรับอินทราเน็ต หรือเครื่องอื่น ๆ อีกสำหรับระบบ CRM คุณสามารถเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นทั้งหมดบนระบบเสมือนจริงที่ทำงานอยู่บนฮาร์ดแวร์ภายภาพเครื่องเดียวกันได้

การจำลองเสมือนจริงช่วยลดความจำเป็นในการเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์และค่าใช้จ่ายด้านเทคนิค รวมทั้งลดการใช้พลังงาน ระบบความเย็น การสำรองข้อมูล อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่ใช้งานกับเซิร์ฟเวอร์ ยิ่งไปกว่านั้น คุณสามารถปรับใช้เซิร์ฟเวอร์จำลองเสมือนจริงขึ้นใหม่ได้ภายในเพียงไม่กี่นาที

ในตอนต่อมา เราจะมาช่วยคุณ เลือกเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ในตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเริ่มต้นจากขั้นพื้นฐานที่สุดก่อน

 

Credit: quickserv

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.